อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ตราสัญลักษณ์
ข้อมูลพื้นฐาน
      สภาพทั่วไป และข้อมูลพื้นฐานสำคัญ ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองกวาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
       ตำบลคลองกวาง เป็นตำบลที่มีราษฎร เข้ามาอาศัยอยู่ เมื่อประมาณ 200 ปี มาแล้วชาวบ้านกลุ่มแรกได้เขามาอาศัยอยู่ที่บ้านคลองไข่เน่า (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นบ้านคลองไข่มุก) ประมาณ 12 ครัวเรือน และได้มีราษฎรอพยพมาจากถิ่นฐานอื่นมากขึ้น หมู่บ้านได้ขยายออกเป็นบ้านนาปรัง และบ้านช้างไห้ ซึ่งในขณะนั้นพื้นที่ของตำบลคลองกวางรวมอยู่กับตำบลปลักหนู ต่อมาเมื่อมีจำนวนครัวเรือนเพิ่มมากขึ้นได้แยกออกจากตำบลปลักหนู เป็นตำบลคลองกวาง เมื่อปี พ.ศ. 2523 เหตุที่ตั้งชื่อตำบลคลองกวาง เพราะชาวบ้านออกไปล่าสัตว์และได้พบกวางอยู่ในลำคลอง และเป็นบ้านที่อยู่กึ่งกลางของตำบล จึงได้เรียกชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน
อาณาเขตติดต่อ
        องค์การบริหารส่วนตำบลคลองกวาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ห่างจากที่ว่าการอำเภอ นาทวี 22 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอนาทวี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้
- ทิศเหนือ จดเขต อบต.คลองทราย อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
- ทิศใต้ จดเขต อบต.ทับช้าง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
- ทิศตะวันออก จดเขต อบต.ปลักหนู และอบต.สะท้อน อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
- ทิศตะวันตก จดเขต อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ตำบลคลองกวาง มีเนื้อที่โดยประมาณ 101 ตารางกิโลเมตร
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
        ลักษณะภูมิประเทศของตำบลคลองกวาง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสลับเนินเขากระจายทั่วไปและเป็นบริเวณป่าสงวนเป็นส่วนใหญ่ จำนวนหมู่บ้านในเขตตำบลคลองกวาง มี 7 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านนาปรัง มีพื้นที่ 27,500 ไร่
หมู่ที่ 2 บ้านคลองไข่มุก มีพื้นที่ 7,500 ไร่
หมู่ที่ 3 บ้านช้างไห้ มีพื้นที่ 8,750 ไร่
หมู่ที่ 4 บ้านเขาวัง มีพื้นที่ 5,000 ไร่
หมู่ที่ 5 บ้านเก่า มีพื้นที่ 4,125 ไร่
หมู่ที่ 6 บ้านคลองกวาง มีพื้นที่ 12,500 ไร่
หมู่ที่ 7 บ้านคลองบอน มีพื้นที่ 2,750 ไร่
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
      ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมเมืองร้อน มีลมมรสุมพัดผ่านประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงกลางเดือนมกราคม เป็นช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม จะเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จากอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ส่งผลทำให้จังหวัดมีฤดูกาล 2 ฤดู คือ
     ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคมซึ่งจะเป็นช่วงหลังจากหมดมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศจะเริ่มร้อนและอากาศจะมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน
     ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนมกราคม จังหวัดสงขลาจะมีฝนตกทั้งในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ แต่ในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีฝนตกชุกในช่วงเดือนตุลาคมถึงมกราคม
1.4 ลักษณะของดิน
       ลักษณะของดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย และดินทรายปนดินร่วนและดินเหนียวบางส่วน เหมาะสำหรับทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และปศุสัตว์
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
       มีแหล่งน้ำที่สำคัญ คือ คลองนาทวี ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาสันกาลาคีรีผ่านอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ ไหลลงสู่อ่าวไทยที่ปากบางสะกอม ความยาวประมาณ 70 กิโลเมตร ส่วนแหล่งน้ำอื่น ๆ ส่วนใหญ่เป็นลำห้วย หนอง คลอง บึง ฝาย บ่อน้ำตื้น ประปา สระน้ำ
1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
        เป็นลักษณะกลุ่มป่าในท้องถิ่นอำเภอสะเดาและอำเภอนาทวี ซึ่งได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยาน แห่งชาติเขาน้ำค้าง เป็นต้นสายสำคัญได้แก่ คลองสะเดา คลองแงะ คลองพน คลองลำใหญ่ ไหลลงสู่คลองอู่ตะเภา และคลองกวาง คลองลำพูด คลองลำชิง คลองบอน ไหลรวมกันเป็นคลองนาทวี พื้นที่ป่าส่วนใหญ่จะเป็นป่าดงดิบชื้น มีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นอุดมสมบูรณ์ ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจได้แก่ หลุมพอ ตะเคียน พยอม กระบากดำ ยาง จำปา สยาแดง ไข่เขียว เปรียงขานาง แต้ว มังคะ พิกุลป่า มะม่วงป่า เป็นต้น และมีพืชพื้นล่างได้แก่ หมากชนิดต่างๆ หวาย ไผ่ ระกำ กล้วยไม้ เฟิน มอส เป็นต้น


     ตำบลคลองกวาง เป็นตำบลที่มีราษฎร เข้ามาอาศัยอยู่ เมื่อประมาณ 200 ปีมาแล้ว ชาวบ้านกลุ่มแรกได้เขามาอาศัยอยู่ที่บ้านคลองไข่เน่า (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นบ้านคลองไข่มุก) ประมาณ 12 ครัวเรือน และได้มีราษฎรอพยพมาจากถิ่นฐานอื่นมากขึ้น หมู่บ้านได้ขยายออกเป็นบ้านนาปรัง และบ้านช้างไห้ ซึ่งในขณะนั้นพื้นที่ของตำบลคลองกวางรวมอยู่กับตำบลปลักหนู ต่อมาเมื่อมีจำนวนครัวเรือนเพิ่มมากขึ้นได้แยกออกจากตำบลปลักหนู เป็นตำบลคลองกวาง เมื่อปี พ.ศ. 2523 เหตุที่ตั้งชื่อตำบลคลองกวาง เพราะชาวบ้านออกไปล่าสัตว์และได้พบกวางอยู่ในลำคลอง และเป็นบ้านที่อยู่กึ่งกลางของตำบล จึงได้เรียกชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน
“ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนอยู่ดีมีสุข และสุขภาพแข็งแรง”
1
ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เพื่อรองรับการขยายตัว ของชุมชนและเศรษฐกิจของท้องถิ่น
2
ส่งเสริมและพัฒนาระบบการศึกษาและสาธารณสุข เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน พร้อมทั้งอนุรักษ์และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาอันดีงานภายในท้องถิ่น
3
ส่งเสริมและสนับสนุน การประกอบอาชีพ และการรวมกลุ่มอาชีพของประชาชน โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม ให้มีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได
4
ควบคุมและกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและมลภาวะต่าง ๆ  รวมถึงมีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
5
ปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ภายในองค์กร โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมือง ที่ดีเน้นการมีส่วนร่วม และความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบล กับประชาชนเอกชน ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพขององค์กร ให้พร้อมรองรับการถ่ายโอนอำนาจหน้าที่จากหน่ายงานส่วนกลาง